วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กระเจี๊ยบแดง


กระเจี๊ยบแดง โดดเด่นด้วยสรรพคุณขับเสมหะแก้ไอ ลดไขมัน ขับปัสสาวะ ดูแลระบบทางเดินปัสสาวะได้ดี (ไทยโพสต์)
           กระเจี๊ยบ แดงนับเป็นหนึ่งในยาสมุนไพรที่มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในงานสาธารณสุขมูลฐานจึงจัดกระเจี๊ยบแดงเป็นยาสมุนไพรประจำบ้านที่ใช้ง่าย และมีความปลอดภัยสูง
   
           คนไทยส่วนใหญ่มักนำดอกกระเจี๊ยบแดงมาทำเครื่องดื่มช่วยดับกระหายคลายร้อน และรสชาติที่เปรี้ยว ๆ ของกระเจี๊ยบแดงก็ช่วยให้ชุ่มคอ ผลสดรสเปรี้ยวชาวบ้านจะเอาไปปรุงรสแกงส้ม หรือเอาไปต้มเคี่ยวกวนกับน้ำตาลทำเป็นแยม ถ้ามีเยอะก็มักจะตากแห้งเก็บไว้ใช้ประโยชน์อื่น ๆ ส่วนใบกระเจี๊ยบชาวสวนก็เก็บมาจำหน่ายตามตลาดผัก นำไปทำแกงส้มหรือผักลวกจิ้มพริก
   
           หมอพื้นบ้านจะใช้ทำยารักษากลุ่มพวกแก้ไอ ดอกกระเจี๊ยบจะกัดเสมหะและแก้ไอได้ดี และช่วยขับเมือกมันในลำไส้ลงสู่ทวารหนัก และขับออกทางทวารหนัก สำหรับเมล็ดของกระเจี๊ยบมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ
   



           ในปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ทางยาอย่างกว้างขวาง นอกจากใช้ขับปัสสาวะแล้ว ยังมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอล จึงช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดตีบได้ดี ส่วนสำคัญที่นำมาทำเป็นยาคือส่วนของกลีบเลี้ยง แต่โดยส่วนใหญ่เรามักจะใช้ทั้งดอกและกลีบด้วยกัน กลีบเลี้ยง ใช้รักษาความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ นิยมต้มกับพุทราจีนใช้ป้องกันรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

           ใช่ว่าแต่คนไทยเท่านั้นที่รู้จักการนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่หมอแผนไทยก็จะใช้เพื่อขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้ไอ ขับเสมหะ ขับน้ำดี เป็นเครื่องดื่มที่สามารถดื่มได้ทุกเพศทุกวัย แต่ในกรณีที่ใช้เป็นยาอาจจะต้องใช้ปริมาณมากเพื่อให้มีฤทธิ์เข้มข้นเป็นยา หรือหมอบางท่านอาจนำไปเข้ากับตัวยาอื่น ๆ
   

           ในต่างประเทศพบว่ามีการใช้ในแนวทางที่สอดคล้องกับของคนไทย เช่น อียิปต์ ใช้กลีบเลี้ยงดอกกระเจี๊ยบต้มกินรักษาความดันโลหิตสูง ใช้ทั้งต้นต้มกินรักษาโรคหัวใจและโรคประสาท และใช้เป็นยาระบายไขมันในลำไส้ ประเทศกัวเตมาลาใช้กลีบเลี้ยงต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ ลดการอักเสบของไต ส่วนชาวอินเดียใช้ใบต้มกินเพราะเชื่อว่าจะทำให้เลือดบริสุทธิ์ หรือใช้ใบตากแห้งต้มกินช่วยแก้ไอ
   
           งานทดลองวิจัยพบว่าสารสกัดของกลีบดอกกระเจี๊ยบ ช่วยทำให้อุจจาระนุ่มขึ้น ช่วยลดอาการบวม ช่วยยับยั้งการสร้างอะฟลาท็อกซินซึ่งจะช่วยปกป้องตับไม่ให้ถูกทำลาย และยังพบว่ามีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนสตรี คือฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งจะเหมาะกับสตรีวัยทองที่นำไปใช้เป็นเครื่องดื่มดูแลสุขภาพได้
  • ต้นตีนเป็ดน้ำ มีถิ่นกำเนิดในอินเดียจนถึงทางตอนใต้ของจีน และมีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคมาเลเซีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกและนิวคาเลโดเมีย ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบได้เฉพาะทางภาคใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก ทรงร่ม เรือนยอดเป็นทรงกลมทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา มีช่องระบายอากาศเป็นร่องยาว มีน้ำยางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดแก่ (เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด) ปลูกได้ดีในดินทั่วไป ชอบแสงแดดเต็มวัน เจริญเติบโตได้เร็ว ไม่ต้องการการดูแลมาก มักพบขึ้นตามบริเวณริมน้ำ ตามป่าชายเลน ป่าบึงน้ำจืดและป่าชายหาด[1],[2],[3],[4],[6]
ต้นตีนเป็ดน้ำ
ตีนเป็ดทะเล
  • ใบตีนเป็ดน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรียาว หรือเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบมีติ่งหรือหางใบแหลม โคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.4-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8.9-30 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน มีเส้นแขนงใบประมาณ 12-25 เส้น เห็นเส้นใบได้ชัดเจน ส่วนท้องใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 3 เซนติเมตร[1],[2],[3],[4]
ใบตีนเป็ดน้ำ
  • ดอกตีนเป็ดน้ำ อกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 8-35 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกหลายดอก ประมาณ 10-14 ดอก ดอกย่อยเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ก้านดอกยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร มีกลีบดอก 5 กลีบ เรียงซ้อนทับกันด้านซ้ายในตาดอก ปลายกลีบดอกแหลม ดอกบานมีแต้มเหลืองรอบปากหลอดกลีบดอก หลอดกลีบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร แฉกกลีบยาวประมาณ 1.2-3.8 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ติดกลางหลอดกลีบดอก ส่วนกลีบรองดอกหรือกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปแถบหรือรูปใบหอดกลีบ ยาวประมาณ 0.8-2.5 เซนติเมตร ปลายกลีบเรียวแหลม เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 6-7 เซนติเมตร[1],[2],[3],[4],[5]
ดอกตีนเป็ดทะเล
ดอกตีนเป็ดน้ำ
  • ผลตีนเป็นน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม หรือค่อนข้างกลมรีเป็นสองพูตื้น ๆ ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ ผลมีขนาดกว้างประมาณ 6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเนียนเป็นมันและมีจุดเล็ก ๆ สีขาวกระจายทั่วไป ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มถึงสีม่วงเข้ม ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดแข็ง เบา และลอยน้ำได้[1],[2],[3],[5]
วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอันเป็นสาเหตุมาจากไขมันเลวลงได้
น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวที่ จำหน่ายตามท้องตลาด ก็คือ น้ำมันที่สกัดมาจากเนื้อมะพร้าวโดยไม่ผ่านความร้อนและไม่ผ่านกระบวนการทาง เคมี ซึ่งน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ หรือ Virgin Coconut Oil จะมีลักษณะใส ไม่มีสี ไม่มีตะกอนและสามารถรับประทานได้
เรานิยมใช้น้ำมันมะพร้าวที่ ดีที่สุดคือการใช้น้ำมันมะพร้าวแทนน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ ในการประกอบอาหาร หรือจะใช้รับประทานเป็นอาหารเสริมก็ได้เช่นกัน โดยผู้ใหญ่รับประทานวันละ 3-4 ช้อนชา ส่วนเด็กรับประทานวันละ 1-2 ช้อนชา โดยแบ่งรับประทานออกเป็นมื้อ ๆจนครบตามจำนวน หรือจะนำมาใช้ผสมเป็นเครื่องดื่มต่าง ๆหรือน้ำผลไม้ก็ได้เช่นกัน (น้ำมันมะพร้าวผสมกับน้ำมะเขือเทศก็อร่อยใช้ได้เลยทีเดียว) และสำหรับสาว ๆ ส่วนมากจะนิยมใช้ในการหมักผม ใช้เป็นคลีนซิ่งทำความสะอาดผิวหน้า และนำมาใช้ทาบำรุงผิว เป็นต้น
น้ำมันมะพร้าว
น้ำมัน มะพร้าวสามารถเป็นไขได้เมื่อมีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศา โดยจะมีลักษณะเป็นครีมขาว เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นน้ำมันอิ่มตัวสูง จึงเป็นไขได้เร็วกว่าน้ำมันชนิดอื่น ๆ ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจหากไปหาซื้อตามจุดที่วางขายอย่างในห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ แล้วน้ำมันมะพร้าวจะเป็นไข ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องเสียหายอะไร แต่กลับเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าน้ำมันมะพร้าวยี่ห้อนี้มีคุณภาพที่ดีต่างหาก เมื่อซื้อมาแล้วก็เพียงแค่วางไว้ตามอุณหภูมิห้องก็จะกลับมาเป็นปกติ แต่ห้ามตากแดดนะ

การตรวจสอบคุณภาพของน้ำมันมะพร้าว

  • ในเบื้องต้นให้ดูที่โรงงานการผลิต ฉลากบนขวดมีเครื่องหมาย อย.รับรองหรือไม่
  • น้ำมัน มะพร้าวที่ดีควรมีอายุการใช้งานนานมากประมาณ 5 ปีแม้จะเปิดใช้แล้วก็ตาม (แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นหืน เหม็นเปรี้ยวแล้วไม่ควรรับประทาน)
  • น้ำมันจะต้องมีความใส และความโปร่งแสง กรณีอาจจะดูไม่ชัดเจนถ้าบางยี่ห้อขวดมีสีไม่ใช่สีใส
  • น้ำมัน มะพร้าวที่ดีต้องไม่มีกลิ่นหืนหรือกลิ่นเปรี้ยว แม้จะเปิดใช้แล้วก็ต้องไม่มีกลิ่น และต้องมีความหอมให้ความรู้สึกเหมือนเป็นน้ำมันสดใหม่
  • เนื้อของ น้ำมันมะพร้าวเมื่อทาแล้วจะต้องให้ความรู้สึกเบาบาง มีความหนืดน้อย หรือเมื่อรับประทานจะรู้สึกเหมือนว่าละลายในปากและผ่านลำคอได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว และเมื่อกลืนลงคอจะต้องไม่มีเลี่ยนและไม่มีกลิ่นรุนแรง
  • น้ำมันมะพร้าวเมื่อนำมาใช้ทาผิวควรจะซึมเข้าสู่ผิวอย่างรวดเร็ว และต้องไม่คราบน้ำมันไว้บนผิว